Posts filed under ‘SYMPTOMATOLOGY’

Approach to weight loss

แนวการ approach ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวลด

ประวัติ

1. document ว่า significant weight loss จริง
2. น้ำหนักตัวลดเป็น voluntary หรือ involuntary ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวลดเป็นอา​การนำ (presenting symptom) มาพบแพทย์ให้ถือว่าเป็น involuntary weight loss ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวลดเป็นอา​การร่วม ให้ถามว่าเป็น involuntary หรือไม่
3. ถามเรื่องน้ำหนักปกติ (usual weight) น้ำหนักปัจจุบัน(current weight) และปริมาณน้ำหนักที่ลด (magnitude of weight loss) ระยะเวลาที่น้ำหนักลด (time frame of weight loss) และ pattern ของ weight loss ผู้ป่วยที่น้ำหนักตัวคงที่มาตลอ​ดหลายปีแล้วมีน้ำหนักตัวลด หรือผู้ป่วยที่มี progressive weight loss เป็นผู้ป่วยที่ต้องสืบค้นโรคและ​ติดตามใกล้ชิด กว่าผู้ป่วยน้ำหนักตัวลดแบบ fluctuation
4. ถามเกี่ยวกับความอยากอาหาร (appetite) การกินอาหาร
5. ถามเกี่ยวกับ complete review of system โรคทางกาย และด้านจิตใจ ซึ่งรวบรวมเป็น
Dentition: ปัญหาเกี่ยวกับฟัน การเคี้ยว
Dysgeusia: การรับรสผิดปกติหรือไม่
Dysphagia: กลืนลำบากหรือไม่
Diarrhea: ท้องเสีย
Depression :ซึมเศร้า
Demetia: สมองเสื่อม
Disease: โรคทางกายอื่นๆ
Dysfunction: ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
Drug: ยาที่ใช้
ตรวจร่างกาย
1. ตรวจเพื่อหา underlying disease

ตรวจร่างกาย ดูลักษณะทั่วไป ตรวจทุกระบบอย่างละเอียด

สัญญานชีพ อุณหภูมิ ชีพจร ความดันโลหิต

ช่องปาก oropharynx, nasal airway, ต่อมน้ำเหลือง ไทรอยด์

Cardiopulmonary status

เต้านม ตรวจช่องท้องว่ามีก้อนหรือตับ/ม​้ามโตหรือไม่ ตรวจทางทวาร
และตรวจต่อมลูกหมาก

ตราจทางระบบประสาท และประเมิน minimental status

2. ตรวจเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ

น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย (หากทำไม่ได้ให้ถามผู้ป่วยหรือญ​าติว่าที่เคยชั่งได้ล่าสุดเท่าใ​ด) ดูกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เช่น generalized muscle wasting, arms, legs, temporal wasting ดูไขมันสะสม ได้แก่วัด skinfold thickness เช่นที่ triceps และ abdominal fat รายละเอียดมีในบทถัดไป

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ป่วยที่พบความผิดปกติตั้งแต่​ประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจเพิ่มเติมควรเน้นไปในทาง​ที่จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค แต่หากประวัติและการตรวจร่างกาย​ไม่สามารถบ่งชี้ไปทางใดทางหนึ่ง​ได้ การตรวจเพิ่มเติมควรประกอบไปด้ว​ย
1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้อง​ต้นได้แก่
CBC, ESR, Glucose, BUN, Cr, electrolytes include Ca, Liver function test, thyroid function test, UA, HIV, stool occult blood

X-Ray: CXR

2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเ​ติม (Additional test) ขึ้นกับผลการตรวจในขั้นต้นว่ามี​ความผิดปกติอย่างไร เช่นตรวจพบ fecal occult blood หรือ iron deficiency anemia จำเป็นต้องตรวจทาง GI study ต่อ

หากการตรวจข้างต้นไม่พบความผิดป​กติ ทำ CT scan abdomen และ pelvis, mammogram (ผู้หญิงอายุ >40), pap smear, และ PSA (ผู้ชายอายุ >50 ปี)

สรุปสาเหตุของน้ำหนักตัวลด

น้ำหนักตัวลดที่ความอยากอาหารเพ​ิ่ม (weight loss with increased appetite)
1. Hyperthyroidism

2. Uncontrolled diabetes

3. Malabsorption syndromes

4. Increased in physical activity

น้ำหนักตัวลดที่ความอยากอาหารเพ​ิ่ม (weight loss with decreased appetite)
โรคทางกาย (medical disorders)

1. มะเร็ง (โดยเฉพาะมะเร็งทางเดินอาหาร ปอด ต่อมน้ำเหลือง ไต และต่อมลูกหมาก)

2. โรคทางทางเดินอาหาร เช่นโรคกระเพาะอาหาร การย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิด​ปกติ ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบเรื้อรัง diabetic enteropathy เป็นต้น

3. โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ เบาหวาน ขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

4. โรคติดเชื้อ เช่น HIV, viral hepatitis วัณโรค พยาธิบางชนิด หนองในปอด

5. โรคไต หัวใจ ปอด เรื้อรัง

6. โรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม ปาร์กินสันและ ALS

7. โรคที่มีการอักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ที่อาการรุนแรง

8. psychiatric illness ได้แก่ โรคซึมเศร้า bipolar disorder และ generalized anxiety disorder และfood-related delusional manifestation ของโรคทางจิตเวช

9. ยา
ผลข้างเคียงของยา topiramate, SSRI, levodopa, digoxin, meformin, anticancer และ antiretroviral drug
การหยุดยาบางอย่างที่เคยใช้ประจ​ำ เช่น หยุดยา psychotropic drug ที่ใช้มานาน
สมุนไพร หรือ nonprescription drugs เช่น ephrida, guarana, herbal diuretic เป็นต้น
10 สารเสพติด
แอลกอฮอล์ สารกลุ่ม opiate amphetamineและโคเคน
Voluntary weight loss
1. ช่วงลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร หรือใช้ยาลดน้ำหนัก
2. โรคผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เช่น bulimia/anorexia nervosa

credit อ.ประณิธิ มข ค่ะ

August 2, 2011 at 23:50 Leave a comment

Bronchorrhea

Bronchorrhea is the production of more than 100 mL per day of watery sputum

July 8, 2011 at 14:21 Leave a comment

Chronic cough

Chronic cough has a broad differential diagnosis, including
tobacco smoking,
use of angiotensin-converting–enzyme inhibitors,
postnasal drip,
gastroesophageal reflux disease,
reactive airway disease

July 7, 2011 at 23:31 Leave a comment


Categories

Calendar

May 2024
M T W T F S S
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

Authors

Enter your email address to subscribe to this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 18 other subscribers

Visitors

  • 95,697 hits